วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 16

           วันนี้อาจารย์แจกเป็นกระดาษเปล่ามาให้เขียนแสดงความคิดเห็นเรื่องที่รัฐบาลแจก แท็บเล็ตให้กับเด็กๆ
-ความคิดเห็นถามว่าการที่แจกแท็บเล็ตให้กับเด็กดีไหมมันก็ดีแต่ว่าก๊มีส่วนที่เสีย 

      ข้อดี

  1. แท็บเล็ตเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาให้กับเด็ก ๆ
  2. ทำให้ครูสามารถเข้าถึงรูปภาพ วีดิโอคลิป และข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก เพื่อใช้สร้างบทเรียนที่น่าสนใจให้แก่นักเรียน ทำให้นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น
  3. เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เด็ก ๆ ได้ศึกษาวัฒนธรรมต่างแดนผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา
  4. ใช้เป็นวิดีโอแชทกับชาวต่างชาติเพื่อฝึกภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องเขินอายเหมือนกับการสื่อสารต่อหน้าจริง ๆ
  5. ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุกและเข้าใจง่ายขึ้น แตกต่างจากการเรียนจากหนังสือซึ่งน่าเบื่อและเข้าใจยากกว่า



      ข้อเสีย
อาจมีเด็กจำนวนมากติดอินเทอร์เน็ตถึงขั้นที่ต้องพบจิตแพทย์ ดังที่ปรากฏในประเทศเกาหลีใต้
นอกจากนี้ นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลว่า
  1. เด็กจะอยู่คนเดียว เล่นคนเดียว หรือเล่นกับเพื่อนสองสามคน
    ขาดหรือออกกำลังกายน้อยลง
  2. มีปัญหาเรื่องสายตา
    กล่าวคือมีปัญหาด้านสุขภาพ
  3. เป็นการปูพื้นฐานให้เด็กคุ้นเคยกับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ทำให้ผลการเรียนตกต่ำลง เนื่องจากติดเกมส์














วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 15

วันนี้อาจารย์ ตรวจข้อมูลใน Blogger ของแต่ละคน เป็นรายบุคคล และแนะนำว่าต้องไปเพิ่มเติมอะไรบ้าง



วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 14

วันนี้เพื่อนกลุ่มที่เหลือ นำเสนอเพลงที่ไม่ได้นำเสนอในอาทิตที่แล้ว

กลุ่ม อันอัน เพลง เด็กน้อยน่ารัก

เด็ก เด็กที่น่ารัก หนูจงตั้งใจอ่านเขียน
ตอนเช้าหนูมาโรงเรียน (ซ้ำ)
หนูจงพากเพียรและขยันเรียนเอย


กลุ่ม มด เพลง นกน้อย

นกตัวน้อยน้อย บินล่องลอยตามสายชล
เด็กเด็ก พากันมาชื่นชม ช่างสุขสมอารมณ์จริงเอย
ลา ลั้น ล้า ลา ลัน ล้า ลา ล่า ลา


กลุ่ม พราว เพลง ตาหูจมูก

ดวงตาฉันอยู่ที่ไหน รู้ไมช่วยบอกฉันที
ดวงตาฉันอยู่ที่นี่ ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง
ใบหูฉันอยู่ที่ไหน รู้ไหมช่วยบอกฉันที
ใบหูฉันอยู่ที่นี่ ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง
จมูกฉัันอยู่ที่ไหน รู้ไหมช่วยบอกฉันที
จมูกฉันอยู่ที่นี่ ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง (ซ้ำ)



กลุ่ม อ๊อฟ เพลง กินผัก ผลไม้

กินผักแล้วมีประโยชน์ ไม่เคยมีโทษมีแต่วิตามิน
เกลือแร่ก็มีมากมาย อีกทั้งกากใยถูกใจจริงจริง
กินเท่าไหร่ก็ไม่มีอ้วน กินเท่าไหร่ก็ไม่มีอ้วน
ของดีล้วนล้วนไม่ควรเขี่ยทิ้ง



          และต่อด้วยการเล่านิทานด้วยเทคนิคต่างๆกลุ่มของดิฉันได้การใช้เทคนิคเล่าไปตัดไป เรื่อง ชาวสวน และกลุ่มของเพื่อนๆ กลุ่มที่เล่านิทาน ตามที่ได้จับฉลากดังนี้
          

กลุ่มที่เล่าไปตัดไป 


กลุ่ม เอ๋ย เรื่อง พระจันทร์ ยิ้ม 

กลุ่ม พราว เรื่อง เจ้าหมีกับผึ้งน้อย
กลุ่ม แอน เรื่องนายพราน



กลุ่มที่เล่าด้วยเชือก


กลุ่ม แอม เรื่อง กระต่ายกับแครรอท 

กลุ่ม ปักเป้า เรื่อง ความสามัคคีของผีเสื้อ
กลุ่ม ส้ม เรื่อง เต่าขี้บ่น 
กลุ่ม แป้ง เรื่อง ครอบครัวทั้ง 4

กลุ่มที่เล่าไปฉีกไป 


กลุ่ม เฟริ์น เรื่อง ดาวนน้อยลอยในทะเล 

กลุ่ม อ๊อฟ เรื่อง เรือโจรสลัด 
กลุ่ม แกน เรื่อง หัวใจล้านดวง



กลุ่มที่เล่าไปพับไป



กลุ่ม หนิง เรื่อง ยักษ์ 2 ตนหัวใจเดียวกัน

กลุ่ม หยก เรื่อง ชายขี้เบื่อ 
กลุ่ม ละออ เรื่อง ดินสอวิเศษ 





กลุ่มที่เล่าไปวาดไป 



กลุ่ม กวาง เรื่อง เพื่อน 

กลุ่มอันอัน ดาวอะไรเอ่ย?
และกลุ่มของดิฉัน เรื่อง คุณปู่นักสำรวจ 


สิ่งที่ได้จากวิชานี้นำไปประยุกใช้ในอนาคตคือ การแต่งเพลง การแต่งนิทานโดยใช้เทคนิคต่างๆๆ 
























วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 13

  
 ไม่มีการเรียนการสอน เพราะ เข้าอบรมเกี่ยวกับอาเซียน








asean_564


asean flags2


 "One  Vision, One Identity, One Community"
หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งอัตลักษณ์  หนึ่งประชาคม 




กำเนิดอาเซียน

       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)

      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ

      วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน

รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ

สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 

สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ

สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 

สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง


การแต่งกายประจำชาติ




ธงแต่ล่ะประเทศในอาเซียน



ลาว


บรูไน



เมียร์ม่าร์


กัมพูชา


เวียดนาม



สิงคโปร์


มาเลเซีย



ฟิลิปินส์



อิโดนีเซีย


ไทย